โปรแกรมขนส่ง VS รถขนดิน

1110 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โปรแกรมขนส่ง VS รถขนดิน

โปรแกรมขนส่ง VS รถขนดิน

ทุกท่านคะ รถขนดิน จะต้องเจอกับปัญหาที่เลี่ยงไม่ได้ในทุก ๆ วัน ซึ่งบางปัญหาส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ บางปัญหาสร้างความไม่แน่นอนให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานจนเกิดความเบื่อหน่าย บางปัญหาส่งผลให้ไม่สามารถวัดผลการทำงานของพนักงานได้จนเกิดความเสียหายไปถึงลูกค้าที่เราทำสัญญาด้วยในที่สุด ด้วยทาง Logis Boy ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับบริษัทรถขนดินในภาคตะวันออก จึงเข้าใจธุรกิจนี้มากขึ้น

ปัญหาธุรกิจนี้ที่เกิดขึ้นมีอยู่ 3 ข้อหลัก ๆ

1.เรื่องเส้นทาง ส่วนใหญ่พนักงานขับรถจะมีการลาเข้า-ออก บ่อย ๆ และบ่อดินก็ไม่ได้อยู่ในที่หลัก สังเกตได้ง่าย ส่งผลให้ใช้เวลาในการสอนเยอะมาก และเกิดปัญหามากมายจากการไม่ชินเส้นทาง

2.ไปถึงบ่อ แต่บ่อนั้น ๆ อาจจะไม่มีดินให้ ปัญหายอดฮิตคืองานขนดิน บางครั้งคุณอาจจะไปที่บ่อแล้วแต่ไม่มีดิน ส่งผลให้งานในวันนั้นติดขัดไปทั้งวัน และไม่มีหลักยึดในการทำงานต่อ

3.ไม่สามารถวัดผลและบริหารพนักงานได้ เนื่องด้วยสาเหตุข้อ (1) (2) ส่งผลมาถึงข้อ (3) คือเราไม่มีหลักยึดอะไรเลยในการบริหารงาน แถมบางครั้งเราไม่รู้สถานการณ์ตัวเองกับลูกค้าเรา ด้วยซ้ำว่าตอนนี้เราขนดินมาได้ ปริมาณเท่าไรแล้ว และขาดอีกเท่าไร และเหลืออีกกี่วันจะครบสัญญา

เมื่อแรกเริ่มที่เราได้รู้จัก และได้เข้าไปพัฒนาร่วมกันกับบริษัทดังกล่าว แอดมินต้องบอกทุกท่านเลยนะคะว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งความเข้าใจของพนักงาน ความหวาดระแวงของพนักงานที่เคยไม่มีหลักยึด กลับต้องมามีหลักยึดส่งผลให้รู้สึกเหมือนถูกควบคุม เราต้องทำมากกว่าโปรแกรมขนส่งคือช่วยกันคิดเรื่อง Costing ให้ลูกค้าประเมินว่าเราจะจ่าย Incentive หรือรายได้เสริมอย่างไรให้กับพนักงานได้บ้าง เพื่อให้พี่ ๆ เปิดใจลองเข้ามาอยู่ในระบบ โดยจากระยะเวลาที่เราวางแผนไว้ 3 เดือนน่าจะเรียบร้อย สุดท้ายพวกเราใช้เวลาถึง 5 เดือน

1.เส้นทาง รถบรรทุกที่ใช้ในการขนดิน เราให้ทีมขาย เข้าเก็บข้อมูล Lat Long มาเก็บในระบบให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด และทำ Application ให้ลิงค์กันระหว่าง App Logis Boy และ App Google Map เพื่อลดปัญหาการไม่ชินทาง และง่ายต่อการใช้งาน แถมยังสามารถใช้ประโยชน์จาก Google ได้มากมาย เช่นการวิ่งเส้นหลัก การเลี่ยงรถติด เป็นต้น

2.กรณีไปถึงบ่อแต่ไม่มีดิน ปัญหานี้เราเริ่มจากเอาข้อมูลในอดีตของลูกค้ามาวิเคราะห์ว่าจริง ๆ แล้วหากวันที่ทำงานแบบเต็มเวลา และทุกบ่อมีดิน หนี่งวันจะทำงานได้กี่บ่อ และใช้เวลาเดินทางประมาณเท่าไร ข้อมูลเหล่านี้เรานำมาสร้างเป็น ตัวตั้งต้นทำให้สามารถ ใช้ระบบ Route Optimization ของ Logis Boy ในการวางแผนงานเส้นทางได้เต็มประสิทธิภาพ ในทุก ๆ วัน และไม่เกิดรอยต่อกรณีไปแล้วไม่เจอดินอีกต่อไป

3.การบริหารพนักงาน เราพัฒนาฟังก์ชั่นในสองมิติทั้งเรื่อง การจัดการระยะเวลาเดินทาง และระยะเวลาขึ้นดิน-ลงดิน เพื่อให้ทุกวันที่มีการวางแผนสามารถวัดผลได้เป็นรายบุคคล รายนาที รายวัน ส่งผลให้พนักงานหลังบ้าน และพนักงานขับรถมีหลักยึดในการทำงานร่วมกัน แถมผู้บริหารยังสามารถประเมินสถานการณ์ได้แบบวันต่อวัน กรณีขนดินไม่ได้ตามเป้าก็สามารถ เร่งหารถร่วมมาเสริมได้ก่อนที่จะผิดสัญญากับลูกค้า

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ แม้ทุกท่านอาจจะไม่ได้ทำรถขนดิน แต่เราก็อยากให้ทุกท่านได้อ่านและสนุกไปกับบทความของเรานะคะ เรื่องต่อไปของ Logis Boy จะไปเจอกับลูกค้าธุรกิจแบบไหน เราจะเอามาแชร์ให้เพื่อน ๆ ฟังอีกนะคะ

#LogisBoy

#โปรแกรมขนส่ง

#ระบบTMS

#ดูแลสุขภาพนะคะทุกท่าน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้