ขั้นตอนการซื้อ-และพัฒนาระบบ TMS Logis Boy

234 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ขั้นตอนการซื้อ-และพัฒนาระบบ TMS Logis Boy

ขั้นตอนการซื้อ-และพัฒนาระบบ TMS Logis Boy

ลำดับการซื้อขายหรือพัฒนาระบบ TMS Logis Boy นั้น มีวิธีการง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน จะมีอะไรบ้าง และมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอนอย่างไร ไปชมกันครับ

ก่อนอื่นขอย้อนความเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้งานระบบ TMS Logis Boy รวมถึงฟีเจอร์ของระบบกันสักหน่อยครับ ระบบ TMS Logis Boy มีไฮไลต์ของระบบ ดังนี้

1. ฟังก์ชั่น การจัดรถอัตโนมัติ ซึ่งจะเหมาะกับการจัดส่งที่มีมากกว่า 1 ปลายทาง หรือแม้แต่ปลายทางเดียว แต่มีประเภทรถหลายประเภท
2. ฟังก์ชั่น การติดตามสถานะการจัดส่ง สำหรับลูกค้าแบบ Real time
3. ฟังก์ชั่น การติดตามสถานะการจัดส่ง สำหรับพนักงานหลังบ้านแบบ Real time
4. ฟังก์ชั่น การสรุปการจัดส่งรายเที่ยว ที่จะระบุถึง ผลการดำเนินงานของคนขับ ต้นทุน กำไร รวมถึงผลการปฏิบัติงานของคนขับ
5. ฟังก์ชั่น Report ต่างๆ ที่จะเน้นรวบรวมข้อมูลในมิติต่างๆ ที่สามารถเรียกดูตามช่วงเวลาที่ต้องการได้แบบรวดเร็ว
6. ฟังก์ชั่น การสรุปผลการดำเนินงานในรูปแบบของ Dashboard แบบ Real time
7. ฟังก์ชั่น การแจ้งเตือนผ่าน E-mail สำหรับลูกค้า ที่สามารถแจ้งรายละเอียดการจัดส่งได้แบบอัตโนมัติ
8. ฟังก์ชั่น การแจ้งเตือนผ่าน E-mail สำหรับพนักงานหลังบ้าน ที่สามารถแจ้งความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้
9. ฟังก์ชั่น การออกเอกสารทางบัญชี ทั้งในส่วนของลูกค้าและบริษัทรถร่วม

เห็นได้ว่าระบบนั้นมีฟังก์ชันจำนวนมาก ซึ่งแต่ละผู้ใช้บริการมีการใช้งานส่วนระบบที่แตกต่างกัน ส่วนนี้ทางทีมของเรานั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเก็บ Requirement เบื้องต้นก่อนรันระบบจริง

ขั้นตอนการเก็บ Requirement
ส่วนนี้จะเป็นการทำงานของ Sales และ Business Analyst ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในโครงการ โดยวิธีการคือเข้าไปพบลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบ เพื่อรับฟังปัญหา หรือสิ่งที่เป็น Pain Point หลักที่ทำให้การทำงานของลูกค้า หรือผู้ใช้งานระบบทำงานได้ล่าช้าหรือติดขัด ตลอดจนความเครียดในการจัดการพนักงานของผู้บริหาร เมื่อรับฟังปัญหาแล้วจะเข้าสู่กระบวนการถัดไปคือการ จัดทำตัวอย่างระบบต้นแบบหรือ Prototype พร้อม ประเมินราคาและกำหนดฟังก์ชัน


การจัดทำตัวอย่างระบบต้นแบบ หรือ Prototype พร้อมประเมินราคาและกำหนดฟังก์ชัน 
ส่วนของการดำเนินการนี้จะอิงจากข้อมูลที่ได้รับมาจากลูกค้า หรือผู้ใช้งานระบบ ตลอดจนผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเพื่อ นำมาจัดทำฟังก์ชันต่างๆ ที่ใช้ในการทำงานให้ตอบโจทย์การทำงานของลูกค้า จัดทำระบบต้นแบบ หรือ Prototype เพื่อสร้างภาพเชิงระบบให้ลูกค้าเห็นประกอบการพิจารณาหรืออาจจะมี comment เพิ่มเติมก็สามารถทำได้ทันทีจากภาพระบบตัวอย่างที่ บจก.โลจิสบอย จัดทำขึ้นอีกทั้งยังมีการประเมินฟังก์ชันแต่ละฟังก์ชันว่ามีการใช้ใคร ตำแหน่งอะไร ทำอะไร เวลาเท่าใด และประเมินจนออกมาเป็น Manday คือราคาของระบบนั่นเอง


เริ่มทำการพัฒนาระบบ
หลังจากที่สามารถตกลงราคากับลูกค้าได้แล้วทางทีมผู้พัฒนาจะมีการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการในการ พัฒนาระบบ แจกจ่ายงานให้กับส่วนต่างๆ และเริ่มพัฒนาระบบ รวมไปถึงส่วนของการออกแบบฐานข้อมูล หรือการ Coding จนระบบสำเร็จตามแผนที่วางไว้ ส่วนนี้จะใช้เวลานานมากที่สุดในกระบวนการ


Testing and UAT
เมื่อทำการพัฒนาระบบเสร็จแล้ว ลำดับถัดไปจะเป็นทดสอบระบบ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือการทดสอบภายใน และการทดสอบร่วมกับ User การทดสอบภายใน คือการทดสอบกันเองระหว่างทีมนักพัฒนา หากพบช่องโหว่ของระบบ ผู้พัฒนาสามารถแก้ไขได้ทันที ส่วนการทดสอบกับ User คือการจำลองเสมือนใช้งานระบบจริงร่วมกับลูกค้า เพื่อให้ระบบใช้หน้างานได้จริง

Training User / Operation
เมื่อทำการ UAT กับลูกค้าผ่านทุกขั้นตอนแล้วสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กับข้อก่อนหน้าคือการจัดหาทีมเทรนนิ่งที่เชี่ยวชาญในระบบของลูกค้าเพื่อจัดเทรนนิ่งให้สอดคล้องกับธุรกิจของลูกค้า และ เทรนนิ่งบนพื้นฐานของลูกค้าเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่ระบบจะมาช่วยทำงาน หรือสิ่งที่ระบบต้องการข้อมูลจากผู้ใช้งานนั่นเอง ซึ่งหากส่วนนี้สามารถทำออกมาได้ดีจะส่งผลให้การทำงานของระบบตอน Go Live ราบรื่นมากยิ่งขึ้นและผู้ใช้งานก็จะมีกำลังใจพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ดีอีกด้วย


Go Live! 
คือการส่งมอบระบบ และให้ลูกค้าใช้งานระบบจริงตามแผนการทำงานจริง


บริการหลังการขาย
หลังจากใช้งานระบบแล้วพบปัญหา บจก.โลจิสบอย จะมีทีม Project Manager เพื่อดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดอีก 1 เดือน จึงจะส่งต่องานทั้งหมดให้ทีม Customer Service เพื่อการบริการที่รวดเร็วและเพิ่มจำนวนคู่สายรับบริการมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยการรักษาแบรนด์ Logis Boy ของบริษัทที่ทำเสมอมาจึงขอให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเราจะช่วยลูกค้าจนระบบ Go Live ได้โดยสมบูรณ์ทุกโครงการอย่างแน่นอน และที่สำคัญทีมพัฒนาทั้งโครงการเป็นพนักงานของบริษัทจึงมั่นใจได้ว่าการแก้ไขจะรวดเร็วและถูกต้องอย่างแน่นอน


การทำ Change Request หรือ การทำ CR ระบบ
ในกรณีที่ใช้งานระบบไปแล้ว ผู้ใช้ต้องการปรับแต่งข้อมูล หรือ ปรับเปลี่ยนข้อมูลที่กระทบระบบ ส่วนนี้จะเป็นสิ่งที่เรียกว่า CR เป็นการต่อเติมหรือแก้ไขระบบเดิมนั่นเอง ซึ่งในส่วนนี้ทาง Project Manager จะมีส่วนร่วมช่วยลูกค้าในการแยกระหว่าง Bug จากการใช้งานหรือ CR เพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีที่สุด


สรุป : การพัฒนาโปรแกรมกับบจก.โลจิสบอย นั้นคุณลูกค้าจะได้รับกระบวนการทำงานที่ชัดเจน มีตำแหน่งรับผิดชอบที่ตรงกับสายงาน ด้วยประสบการณ์รับพัฒนาโปรแกรม และด้วยประสบการณ์ของประเภทธุรกิจที่เคยทำ ตลอดระยะเวลา 5 ปี กว่า 50 โปรเจค เช่น POS / TMS / WMS / Smart Farm / LAB / Data Analytics / CRM เป็นต้น
ทำให้เราทราบถึง Pain-point ในการทำโปรเจค ตลอดจน Pain-point ในการรับความต้องการจากลูกค้า การวางแผนจัดการงานที่ดีบริษัทจึงขอให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเราจะสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่ลูกค้าวางไว้อย่างแน่นอนพร้อมทั้งช่วยแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดเสมอตลอดการทำโครงการ


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Logis Boy ได้ที่
ที่อยู่:  บริษัท โลจิส บอย จำกัด
1010 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 12 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
เบอร์โทร: 02-096-2915 / 061-384-0056
อีเมล: support@logisboysolutions.com
เวลาทำการ: 08.30 – 17.30 น.
Facebook: logisboysolutions
Line: @120vdsby

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้